วันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

มะขามป้อม

มะขามป้อม สรรพคุณและงานวิจัย


ชื่อสมุนไพร มะขามป้อม
ชื่ออื่นๆ ชื้อพื้นเมือง กันโตด (เขมร) กำทวด (ราชบุรี) มิ่งลู่ สันยาส่า (กะเหรี่ยมแม่ฮ่องสอน) อะมะลา (ฮินดู เปอร์เซีย)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus emblica Linn.
ชื่อสามัญ Emblic myrabolan , Malacca tree , Indian gooseberry.
ชื่อวงศ์ Euphorbiaceae



ถิ่นกำเนิด

มะขามป้อมพบได้ทั่วไปในป่าเขตร้อนของทวีปเอเชียตอนใต้ และตะวันออกเฉียงใต้ แถบภาคกลางและใต้ของอินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา จีน มาเลเซีย เมียนมาร์ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง มักขึ้นในธรรมชาติในป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าเต็งรัง และป่าแดงประเทศ แต่มีมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การกระจายพันธุ์เกิดจากการที่เมล็ดร่วงลงดิน หรือมีสัตว์ป่ามากินแล้วคายเมล็ดไว้



ลักษณะทั่วไปมะขามป้อม

มะขามป้อมเป็นพันธุ์ไม้ที่ทนแล้วได้ดี เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8 – 20 เมตร ขนาดโตวัดรอบไม่เกิน 80 เซนติเมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกค่อนข้าเรียบเกลี้ยง สีน้ำตาลอ่อน เปลือกในสีชมพูสด เรือนยอดรูปร่ม
ใบมะขามป้อมมีใบเป็นช่อ แต่ละช่อมีใบย่อยเล็กๆ รูปขอบขนานติดเป็นคู่ๆ เยื้องๆ กัน ปลายใบมน มีรอยหยักเว้าเล็กน้อย ขอบใบเรียบ สีเขียวอ่อน กว้าง 0.25 – 0.50 เซนติเมตร ยาว 0.8 – 1.2 เซนติเมตร เรียงชิดกัน ก้านใบสั้นมาก ใบย่อยจำนวน 22 คู่ เส้นใบไม่ชัดเจน เส้นกลางใบเห็นได้รางๆ
ดอกมะขามป้อม มีดอกเล็ก สีขาวนวล แยกเพศกัน แต่เกิดบนกิ่งและต้นเดียวกัน ออกดอกตามง่ามใบ 3 – 5 ดอก มีกลีบรองดอก 6 กลีบ ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 3 อัน ฐานรองดอกมี 6 แฉก ดอกเพศเมีย มีฐานรองดอกเป็นรูปถ้วย ขอบถ้วยหยัก รังไข่มี 3 ช่อง หลอดท่อรังไข่ปลายแยกเป็น 2 แฉก ไม่เท่ากัน
ผลมะขามป้อม กลม มีเนื้อหนา เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2 – 2 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีสีเขียวค่อนข้างใส มีเส้นริ้วๆ ตามยาวพอสังเกตได้ 6 เส้น เนื้อกินได้ มีรสฝาด เปรี้ยว ขม และอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง 6 สัน มี 6 เมล็ดใน 1 ผล
• ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล ประมาณเดือนกันยายน และเป็นผลประมาณเดือน พฤศจิกายน –ธันวาคม-มกราคม-กุมภาพันธ์



การขยายพันธุ์มะขามป้อม

มะขามป้อมปัจจุบันนิยมขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดที่กระตุ้นด้วยความร้อนล่อน จะนำไปเพาะต่อไป ต้นมะขามป้อมขึ้นได้ ในดินทุกประเภทที่มีการระบายน้ำดี ต้องการความชื้นในระดับน้อยถึงปานกลาง และต้องการแสงมาก



องค์ประกอบทางเคมีของมะขามป้อม

มีวิตามินสูง (ในผลมะขามป้อม 1 ผลมีปริมาณวิตามินซีเทียบเท่ากันส้ม 2 ลูก) นอกจากนี้ยังพบ rutin, mucic acid, gallic acid, phyllemblic, acid ascorbic acid, furanoloatones, sterols, carbohydratas สารกลุ่มแทนนิน เบนซินอยด์ เทอร์ปีน ฟลาโวนอยด อัลคาลอยด์ คูมาริน เป็นต้น






 โครงสร้าง sterols
ที่มา : en.wikipedia.org/wiki








โครงสร้าง rutin
ที่มา : en.wikipedia.org/wiki

   







โครงสร้าง vitamin C
ที่มา : en.wikipedia.org/wiki




สรรพคุณมะขามป้อม

• ปมก้าน ใช้เป็นน้ำยาบ้วนปาก แก้ปวดฟัน แก้ปวดท้องน้อย กระเพาะอาหาร แก้ปวดเมื่อยกระดูก แก้ไอ แก้ตานซางในเด็ก
ผลมะขามป้อมสด ใช้รับประทานเป็นผลไม้ แก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี แก้หวัด แก้ไอ ละลายเสมหะ ขับปัสสาวะ เป็นยาระบาย รักษาคอตีบ รักษาเลือดออกตามไรฟัน หรือจะนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้ง รับประทานเป็นยาถ่ายพยาธิ
ผลมะขามป้อมแห้ง นำมาบดชงน้ำร้อนแบบชาดื่ม แก้ท้องเสีย โรคหนองใน บำรุงธาตุ รักษาโรคบิด ใช้ล้างตา แก้ตาแดง เยื่อบุตาอักเสบ แก้ตกเลือด ใช้เป็นยาล้างตา หรือจะผสมกับน้ำสนิทเหล็กแก่โรคดีซ่าน
โลหิตจาง 7 เมล็ด นำมาเผาไฟจนเป็นถ่าน ผสมกับน้ำมันพืช ทาแก่ตุ่มคัน หืด หรือดำเป็นผงชงน้ำร้อนดื่ม รักษาโรคเบาหวาน หอบหืด หลอดลมอักเสบ รักษาโรคตา แก้คลื่นไส้ อาเจียน
มะขามป้อมจัดอยู่ใน “พิกัดตรีผลา” คือการจำกัดจำนวนผงไม้ 3 อย่าง มีลูกสมอพิเภก ลูกสมอไทย ลูกมะขามป้อม สรรพคุณแก้ปิตตะ วาตะ เสมหะ ในกองธาตุ กองฤดู กองอายุ และกองสมุฏฐาน
สารออกฤทธิ์ที่สำคัญในสารสกัดจากผลมะขามป้อมที่ได้รับความสนใจและน้ำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง คือ hydrolysable tannins ซึ่งเป็นสารกลุ่ม polyphenols ซึ่ง hydrolysable tannins ในสารสกัดมะขามป้อมนี้ประกอบไปด้วย สารสำคัญ 4 ชนิดคือ Emblicanin-A, Embliicanin-B, Pedunculagin, Punigluconin (Bhattacharya, 2000) อีกทั้งมีรายงานว่าสารสกัดมะขามป้อมด้วยตัวทำละลายแต่ละชนิดได้แก่ เอทานอล อะซีโตน และเอทิลอะซีเตด มีฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชั่น ต้านอนุมูลอิสระและยังยั้งการสร้างเมลานินได้ จึงมีการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ครีมบำรุงผิวขาว และช่วยชะลอความแก่ เจลล้างหน้าและแผ่นแปะที่มีส่วนผสมสารสกัดมะขามป้อมที่ความเข้มข้น 0.5-1.0% W/V ดังนั้นมะขามป้อมจึงเป็นสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางได้

ตารางแสดงการเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารของมะขามป้อม 100 กรัม
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข รายงานสารอาหารของลูกมะขามป้อมสด เปรียบเทียบกับลูกมะขามป้อมแช่อิ่ม ในส่วนที่กินได้ 100 กรัม และสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนี้



                       สารอาหาร             ผลสด               แช่อิ่ม                 หน่วย
                       พลังงาน                     58.00                 222                         แคลอรี
                           น้ำ                     84.10               37.60                   กรัม
                        ไขมัน                      0.50                0.60                           กรัม
                    คาร์โบไฮเดรต             14.30               59.80                           กรัม
                     เส้นใยอาหาร              2.40                1.00                            กรัม
                         โปรตีน                      0.70                0.50                      กรัม
                      แคลเซียม                       29                 39                        มิลลิกรัม
                      ฟอสฟอรัส                       21                 18                        มิลลิกรัม
                          เหล็ก                      0.5                 1.2                        มิลลิกรัม
                       วิตามินเอ                       100                                     หน่วยสากล
                       วิตามินบี                    10.03                0.02                         มิลลิกรัม
                       วิตามินบี                    20.04                0.09                        มิลลิกรัม
                       ไนอะซิน                      0.2                 0.1                        มิลลิกรัม
                       วิตามินซี                     276                  3


รูปแบบขนาดวิธีใช้

•  แก้ไอ ช่วยกระตุ้นให้น้ำลายออก ช่วยละลายเสมหะ มีวิธีใช้ดังนี้
• ใช้เนื้อผงสด ครั้งละ 2-5 ผล โขลกพอแหลก แทรกเกลือเล็กน้อย อม หรือ เดี่ยว วันละ 3-4 ครั้ง
• ผลมะขามป้อมสดฝนกับน้ำแทรกเกลือจิบบ่อยๆ หรือใช้ผลมะขามป้อมสดจิ้มเกลือรับประทาน
• ผลสดตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือผลแห้ง 6-12 กรัม (ผลสด 10-30 ผล) คั้นน้ำดื่มหรือเคี้ยวอมบ่อยๆ
• อาการเป็นหวัด ไอ เจ็บคอ ปากคอแห้ง ใช้ผลสด 15-30 ผล คั้นเอาน้ำ มาจากผล หรือต้มทั้งผลแล้วดื่ม แทนน้ำเป็นครั้งคราว
• บำรุงร่างกายให้แข็งแรง มะขามป้อมมีรสเปรี้ยว ฝาด ขม เช่นเดียวกับสมอไทย จึงสามารถ แก้โรคต่างๆ ได้มาก เช่นเดียวกับสมอไทย ดื่มน้ำมะขามป้อมคั้นสด 1 ช้อนโต๊ะ (15 ซีซี) กับน้ำมะระขี้นกคั้นสด 1 ถ้วย ทุกวันเป็นเวลาสองเดือนสามารถกระตุ้นให้ตับอ่อนหลั่นอินซูลินและลดระดับน้ำตาลในเลือด
• ท้องผูก นำมะขามป้อมมาผ่าแคะเม็ดออก (กินแต่เนื้อ) ประมาณ 10 ลูก ใส่พริก เกลือ น้ำตาล ตำพอแหลก กินต่างผลไม้ แต่ควรกินก่อนนอน หรือตอนตื่นนอนใหม่ๆ ในขณะที่ท้องว่าง
 ยาแก้ไอผสมมะขามป้อม
สูตรตำรับที่ 1 ในยา 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วย สารสกัดน้ำมะขามป้อมเข้มข้น (ความเข้มขัน 40 เปอร์เซ็นต์) 60 มิลลิลิตร สารสกัดใบเสนียด (ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์) 10 มิลลิลิตร กลีเชอรีน 5 มิลลิลิตร สารสกัดรกชะเอมเทศ 0.45 มิลลิลิตร เกลือแกง 0.5 กรัม เกล็ดสะระแหน่ 0.01 มิลลิกรัม
สูตรตำรับที่ 2 ในยา 100 มิลลิลิตร ประกอบด้วย สารสกัดน้ำมะขามป้อมเข้มข้น (ความเข้มข้น 25 เปอร์เซ็นต์) 30 มิลลิลิตร มะนาวดอกแห้ง 8 กรัม สารสกัดรากชะเอมเทศ 5 มิลลิลิตร ผิวส้มจีน 3.3 มิลลิกรัม บ๊วย 3 มิลลิกรัม เนื้อลูกสมอพิเภก 3 กรัม เนื้อลูกสมอไทย 1 มิลลิกรัม หล่อฮังก๊วย 2 มิลลิกรัม เกล็ดสะระแหน่ 0.08 มิลลิกรัม น้ำตาลทรายแดง 40 มิลลิกรัม
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ต้านไวรัส(ไข้หวัดใหญ่, ยับยั้งเอนไซม์ HIV-1 reverse transcriptase) แก้ไอ ต้านการอักเสบ ลดความดันโลหิต ยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดคอเลสเตอรอล ปกป้องตับ หัวใจและหลอดเลือด
Chebulagic acid แสดง cytotoxicity ต่อ melanoma cells และยับยั้งเอนไซม์ topoisomerase l ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่จำเป็นสำหรับการแบ่งตัวเซลล์ นอกจากนี้พบว่าสารสกัดด้วยน้ำของใบมะขามป้อม สามารถลดความดันในหนูขาวได้





การศึกษาฤทธิ์ทางพิษวิทยา

จากการศึกษาพิษกึ่งเฉียบพลันในหนูถีบจักร เมื่อให้สารสกัดด้วยน้ำของใบมะขามป้อมในขนาด 0.1 และ 0.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่าไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของหนู แต่พบการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักอวัยวะภายในของหัวใจ ปอด ตับและมีการเพิ่มของระดับ SGPT ในซีรั่ม เมื่อให้สารสกัดแก่หนูถีบจักรทางปากในขนาด 20 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ไม่เกิดอาการพิษในสัตว์ทดลอง และเมื่อฉีดสารสกัดทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่าขนาดที่ทำให้หนูถีบจักรเพศผู้ตามครึ่งหนึ่ง (LD₅₀) เท่ากับ 0.415 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ส่วนหนูถีบจักรเพศเมียมีค่าเท่ากับ 0.288 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม





ข้อแนะนำ ข้อควรระวัง

การใช้มะขามป้อม จัดเป็นยารสเปรี้ยว ฝาด เย็น ผู้ที่หนาวเย็นง่าย ไม่ควรทานมาก ต่อเนื่อง เกินจำเป็น ผู้ที่มีปัญหาเลือดจาง ใส เหลวกว่าปกติ ก็ไม่ควรทานมากทานประจำ ผู้ที่แน่นท้องแบบไฟธาตุน้อย ก็ระวังปริมาณในการทาน หรือ ให้ปรับธาตุอาหารสมุนไพรที่ทาน ให้มีความอุ่นร้อนเพิ่มขึ้น สำหรับยาน้ำแก้ไอสูตรผสมมะขามป้อม ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผู้ป่วยที่ท้องเสียง่าย เนื่องจากมะขามป้อมมีฤทธิ์เป็นยาระบาย



สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับมะขามป้อม

ผลมะขามป้อม มีวิตามินซีสูงมากที่สุดในบรรดาพืชทุกชนิดที่มีในโลก ในผลมีสารป้องกันการเกิดออกซิไดซ์วิตามินซี ทำให้วิตามินซีคงตัวอยู่ได้นาน ผลแห้ง เก็บไว้ในที่เย็น เช่น ในตู้เย็น นาน 365 วัน จะเสียวิตามินซีไปร้อยละ 20
ผลมะขามป้อมดองในน้ำเกลือร้อยละ 8 นาน 20 วัน ความเข้มข้นของกรดเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 0.77 เป็นร้อยละ 1.44 วิตามินซีเสียไปประมาณร้อยละ 68
ดองในน้ำเกลือร้อยละ 10 ความเข้มข้นของกรดเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 0.63 เป็นร้อยละ 1.39 วิตามินซีเสียไปประมาณร้อยละ 72
นอกจากนี้ ในการดองจะมีพวกกรดทั้งชนิดระเหยและไม่ระเหยเพิ่มขึ้น ดองในน้ำเกลือร้อยละ 8 จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ดองในน้ำเกลือร้อยละ 10 ผลมะขามป้อมที่ดองด้วยน้ำเกลือร้อยละ 8 มีกลิ่นของมันเองลดลง และมีกลิ่นหมักดีขึ้น ส่วนที่ดองด้วยน้ำเกลือร้อยละ 10 มีกลิ่นของมันเองลดลง ผลที่ดอกมีสีน้ำตาลแดง เนื้อนุ่มขึ้น ผลพองตัวมีขนาดใหญ่ขึ้น และบางผลก็แตกออก มีรสเปรี้ยวๆ เค็มๆ
ผลสดถ้าเก็บไว้ในอุณหภูมิห้อง (29-37 องศา-เซลเซียส) นาน 365 วัน จะเสียวิตามินซีไปร้อยละ 67
เนื้อผลตากแดดให้แห้ง จะเสียวิตามินซีไปประมาณร้อยละ 60 ถ้าทำให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง จะเสียวิตามินซีไปไม่มากนัก เนื้อผลแห้งเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องจะเสียวิตามินซีไปร้อยละ 25 ในเวลา 2 สัปดาห์ เสียวิตามินซีไปร้อยละ 50 ในเวลา 4 สัปดาห์ และเสียไปร้อยละ 60 ในเวลา 48 สัปดาห์
น้ำคั้นจากผล ใส่ขวดเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องนาน 2 สัปดาห์ จะเสียวิตามินซีไปมากกว่าร้อยละ 50 แต่ถ้าเก็บในตู้เย็นนาน 9 สัปดาห์ จะเสียวิตามินซีไปน้อย กว่าร้อยละ 50 ในน้ำคั้นจากผลที่ใส่ขวดเก็บไว้ จะมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นและมีความเป็นกรดคงที่ ที่ pH2



เอกสารอ้างอิง

1. มะขามป้อม.ฐานข้อมูลสมุนไพร.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=258
2. รายงานผลการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์ผลไม้ป่า”มะขามป้อม”เพิ่มคุณค่าอาหารกลางวัน.ชุมนุมอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชโรงเรียนบ้านหนองไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 ร่วมกับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์.หน้า6-15
3. แฉล้ม มาศวรรณา และนิวัฒน์ มาศวรรณา.มะขามป้อมสมุนไพรของคุณค่ากสิกร เกษตรน่ารู้. น.ส.พ.กสิกรปีที่ 82 ฉบับที่ 2 มีนาคม - เมษายน 2552 หน้า 53 - 60
4. ภกญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร.มะขามป้อมสมุนไพรที่ไม่ควรมองข้าม.นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่ 309 คอลัมน์ เรื่องเด่นจากปก. มกราคม 2548
5. ชนิดา กานต์ประชา, ชาญณรงค์ นาคจำรัสศรี , วิศรุต บูรณสัจจะ . 2548.การแยกสาระสำคัญในสารสกัดมะขามป้อม . คณะเภสัชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ
6. มะขามป้อม.ฐานข้อมูลเครื่องยา.คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=101
7. Takachi, F., M. Wakaizumia, T Ikamiband M, Saitoa.2008.Amla (Emblica officinalis Gaertn.) extract promotes procollagen produc tion and inhibits matrix metalloproteinase-1 in human skin fibroblasts. Joumal of Ethnophamacology.119:53-57
8. มะขามป้อม.สมุนไพรล้างพิษ.สถาบันวิจัยการแพทย์แผนไทย.(ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก
http://www.tmri.dtam.moph.go.th/heab/makampom.php
9. Bhattachachya, A., S. Ghosal and S.K. Bhattachaya. 2000. Antioxidant activity of tannoid principles of Emblica officinalis (amla) in chronic stress induced changes in rat brain. Iournal Experimental Biology 38:877-880
10. อุบลทิพย์ พิมมานนิตย์.2552.การพัฒนาสารสกัดมะขามป้อมเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยา อาหารและ เครื่องสำอาง.หน้า 79-91 การเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการพัฒนาสมุนไพรสู่ระดับอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2 .สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.),กรุงเทพฯ
11. ยาน้ำแก้ไอผสมมะขามป้อม.ยาบรรเทาอาการไอ.บัญชีหลักแห่งชาติ.
12. ปราณี ชวลิตธำรง, เอมนัส อัตตาวิชญ์ , พัช รักษามั่น , ปราณี จันทร์เพ็ชร.2539.พิษกึ่งเฉียบพลันของยาโบราณตรีผลา.วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.ปีที่ 38 ฉบับที่ 3 .กรกฎาคม – กันยายน.หน้า 161 – 191
13. นพ.วีรพัฒน์ เงาธรรมทรรศน์.มะขามป้อม ช่วยต้านพิษต่างๆ การช่วยส่งเสริมการใช้และปลูกแทนข้าวโพดบ้าง (ออนไลน์)เข้าถึงได้จาก http://www.gotoknow.org/posts/218720
14. สุพจน์ อัศวพันธุ์ธนกุล.มะขามป้อม ผลไม้ที่ดีที่สุด.ข่าวสารสมุนไพร ฉบับที่ 39 ประจำเดือน กันยายน – พฤศจิกายน 2532
15. นันทวัน บุญยะประภัศร , อรนุช โชคชัยเจริญพร , บรรณาธิการ . สมุนไพรพื้นบ้าน (3).กรุงเทพมหานคร : บริษัทประชาชนจำกัด ; 2542: หน้า 510 – 519

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หญิงจำเป็นต้องรักษาสุขภาพด้วยสมุนไพรว่านชักมดลูก

สรรพคุณอันน่าทึ่ง 35 ประการของว่านชักมดลูก ขายว่านชักมดลูก มีความปลอดภัยมากยิ่งกว่า กวาวเครือขาว และยังช่วยทำให้ทำให้กล้ามเนื้อกระชับขึ้น  ...